top of page

การแบ่งบริเวณอันตรายตามมาตรฐาน IEC ซึ่งครอบคลุมสารไวไฟที่เป็นก๊าซ โดยแบ่งออกได้ ดังนี้

Zone อันตราย

Zone 0 (Class I: Division 0) 

คือ พื้นที่ที่มีแก๊สหรือไอระเหยผสมอยู่ในบรรยากาศด้วยความเข้มข้นเหมาะสมในการจุดติดไฟได้อยู่เป็นประจำหรือเป็นช่วงเวลานาน ตัวอย่างเช่น

  • ภายในถังบรรจุสารไวไฟ

  • พื้นที่ใกล้ช่องเปิดของถังบรรจุที่อาจทำให้แก๊สหรือไอระเหยรั่วกระจายออกมาสู่ภายนอกได้

Zone อันตราย
Zone อันตราย
Zone อันตราย

Zone 1 (Class I: Division 1) 

คือ พื้นที่ที่มีแก๊สหรือไอระเหยผสมอยู่ในบรรยากาศด้วยความเข้มข้นเหมาะสมในการจุดติดไฟได้ในระหว่างที่มีกระบวนการทำงานปกติ, ช่วงเวลาที่มีการซ่อมบำรุง, ระหว่างที่มีความผิดพลาดในกระบวนการทำงานก็จะทำให้เกิดการรั่วไหลของสารไวไฟขึ้นได้ รวมทั้งพื้นที่อยู่ติดกับพื้นที่ Zone 0 ด้วย ตัวอย่างเช่น

  • บริเวณรอบช่องเปิดของถังบรรจุ

  • บริเวณรอบ Safety Valve และบริเวณใกล้กับ Seal ของ Pump หรือ Compressor

  • จุกถ่ายเทสารไวไฟ

  • บริเวณที่มีการถ่ายบรรจุแก๊ส

  • บริเวณที่มีการใช้สารตัวทำละลาย (Solvent)

  • บริเวณที่มีการพ่นเคลือบสี

  • ห้องที่มีการใช้สารไวไฟซึ่งไม่มีการระบายอากาศที่เหมาะสม

Zone อันตราย
Zone อันตราย

Zone 2 (Class I: Division 2) 

คือ พื้นที่ที่มีแก๊สหรือไอระเหยผสมอยู่ในบรรยากาศด้วยความเข้มข้นเหมาะสมในการจุดติดไฟได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ตัวอย่างเช่น

  • พื้นที่ที่สามารถเกิดการรั่วไหลของแก๊สหรือสารไวไฟ เนื่องจากมีการเกิดอุบัติเหตุ

  • พื้นที่เก็บถังบรรจุสารไวไฟและอาจเกิดมีรอยแตกร้าวของถังบรรจุ

  • พื้นที่ที่มีการใช้สารไวไฟ แต่กระบวนการทำงานทุกขั้นตอนตามปกติจะไม่มีไอระเหยของสารไวไฟสามารถรั่วไหลออกมาได้

  • พื้นที่ที่มีท่อแก๊สหรือสารไวไฟและอาจเกิดการรั่วไหลเนื่องจากความบกพร่องของข้อต่อและวาล์ว

  • พื้นที่ที่อยู่ติดกับพื้นที่ใน Zone 1

Zone อันตราย
Zone อันตราย
Zone อันตราย

การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการเดินท่อร้อยสายในพื้นที่อันตราย

    ตามมาตรฐานการเดินท่อร้อยสายไฟของ NEC ที่กำหนดให้การเดินท่อร้อยสายไฟในพื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 อุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องเป็นชนิดทนระเบิด ป้องกันการเกิดประกายไฟได้ การเดินท่อร้อยสายไฟและเคเบิลต้องสามารถป้องกันการผ่านของก๊าซ ไอระเหยและเปลวไฟจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นผ่านทางท่อร้อนสายไฟ 

ติดตั้งโคมไฟกันระเบิด

รายละเอียด

  1. มอเตอร์ โคมไฟ และกล่องต่อสาย เป็นชนิดทนการระเบิด (Explosion Proof)

  2. ใช้ท่อโลหะปานกลาง (Intermediate Metal Conduit : IMC) ที่สามารถทำเกลียวได้ซึ่งมีเกลียวมากกว่า 5 เกลียว

  3. ติดตั้ง Sealing Fitting ที่ใส่สาร Compound ของท่อร้อยสายไฟก่อนเข้ากล่องสวิตช์ควบคุม ตามมาตรฐานที่กำหนดให้ติดตั้งก่อนเข้ากล่องระยะไม่เกิน 18 นิ้ว

EYS

การเดินท่อร้อยสายไฟเข้าพื้นที่อันตราย

    ตามมาตรฐานการเดินท่อร้อยสายไฟของ NEC ที่กำหนดให้เมื่อมีการเดินท่อร้อยสายไฟ จากพื้นที่ไม่อันตรายหรือพื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 แบบที่ 2 (Class I Division 2 : Zone 2) เข้าสู่พื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 แบบที่ 1 (Class I Division 1: Zone 1) ที่ต้องมีการใส่ Sealing Fitting และใส่สาร Compound ในระบบท่อน้อยสายไฟและสายเคเบิลเพื่อป้องกันการผ่านของก๊าซ ไอระเหยและเปลวไฟจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นผ่านทางท่อร้อยสายไฟ

กันระเบิด

รายละเอียด

  1. เป็นการเดินท่อร้อยสายไฟจากภายนอกอาคาร ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่อันตรายเข้าสู่ภายในอาคารที่มีการผลิตและจัดเก็บสารเคมีไวไฟซึ่งจัดเป็นพื้นที่อันตรายประเภท 1(Class I)

  2. ใช้ท่อโลหะปานกลาง (Intermediate Metal Conduit : IMC) ที่สามารถทำเกลียวได้ซึ่งมีเกลียวมากกว่า 5 เกลียว

  3. ติดตั้ง Sealing Fitting ที่ใส่สาร Compound ของท่อร้อยสายไฟก่อนเข้ากล่องสวิตช์ควบคุม ตามมาตรฐานที่กำหนดให้ติดตั้งก่อนเข้ากล่องระยะไม่เกิน 18 นิ้ว

เครดิต: สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

bottom of page